‘กานต์ พูลเกษร’ ตั้งเป้านำทัพ เป็นผู้นำสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์

‘กานต์ พูลเกษร’ ตั้งเป้านำทัพ เป็นผู้นำสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์

‘กานต์ พูลเกษร’ ตั้งเป้านำทัพ KTBST LEND เป็นผู้นำสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์

 

‘กานต์ พูลเกษร’ ตั้งเป้านำทัพ เป็นผู้นำสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์

 

สภาพคล่องทางการเงิน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่มีค่าใช้จ่ายประจำทุก ๆ เดือน ทั้งค่ากินอยู่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าเทอมลูก และเงินฉุกเฉินยามเจ็บป่วย ปัจจุบันการใช้ชีวิตของผู้คนยุคนี้ที่เน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือสินเชื่อเพื่อใช้ยามจำเป็น นอกจาก พึ่งพิงธนาคาร ทั้งการกู้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด หรือการใช้เงินในอนาคตจากการรูดบัตรเครดิต หรือบางคนอาจพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ อาจแก้ไขปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นได้ แต่ก็ก่อให้เกิดภาระหนี้สินอัตราดอกเบี้ยที่สูงในระยะยาว

ดังนั้น เพื่อเป็นตัวช่วยมนุษย์เงินเดือน ในการเข้าถึงสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้มนุษย์เงินเดือน สามารถ นำเงินไปใช้จ่ายให้คล่องตัวมากขึ้นได้ “สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน” จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ ที่บริษัท เคทีบีเอสที เลนด์ จำกัด (KTBST LEND) หนึ่งในกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน ในเครือของ บริษัท เคทีบีเอสที โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (KTBST HOLDING) ภายใต้การนำของ กานต์ พูลเกษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTBST LEND ได้รุกโลกดิจิทัลอีกขั้น ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชัน LEND U นำร่องเสนอบริการสินเชื่อสวัสดิการให้กับบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มพนักงานของบริษัทที่ทำสัญญาใช้บริการ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว จบในแอปฯ เดียว พร้อมมุ่งมั่นผลักดันให้ KTBST LEND เป็นผู้นำสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์ ตามพันธกิจของ KTBST LEND ที่ว่า “มุ่งมั่นในการให้บริการสินเชื่อสวัสดิการ สินเชื่อส่วนบุคคล และบริการคลินิคขจัดปัญหาหนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้น” ให้ได้

สั่งสมประสบการณ์สายการเงิน ปั้น KTBST LEND ให้แข็งแกร่ง

ชื่อของ กานต์ เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงการเงินชั้นนำของเมืองไทยมาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี เขาพกความรู้ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ และการเงิน ด้วยความสนใจด้านคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จึงมีโอกาสเข้าทำงานกับบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำหลายแห่ง สั่งสมประสบการณ์การทำงานจนเชี่ยวชาญ ทั้งยังได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการก่อตั้ง ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายด้านการเงินการลงทุนให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายเวที นอกจากนี้ กานต์ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทค จากการวางระบบเทรดอัตโนมัติ (Robot Trading) ให้สถาบันการเงินหลายแห่งอีกด้วย

ด้วยฝีไม้ลายมือที่โดดเด่นนี้เอง ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท KTBST จึงได้เชิญกานต์มาร่วมงานกับกลุ่ม KTBST ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีการเงิน (Fintech Integration) ของบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST SEC) และในปี 2563 กลุ่ม KTBST ได้เล็งเห็นโอกาสในธุรกิจสินเชื่อสวัสดิการ และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่จะมีส่วนช่วยเสริมสภาพคล่อง และช่วยบริหารจัดการหนี้สินของคนไทย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้มอบหมายให้ กานต์ นำ KTBST LEND รุกตลาดสินเชื่อ โดยนำร่อง ด้วย สินเชื่อสวัสดิการพนักงานออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน LEND U

เน้นสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์ ตอบโจทย์การเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTBST LEND กล่าวถึงธุรกิจของบริษัทว่า มีด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกคือ บริการสินเชื่อสวัสดิการและสินเชื่อส่วนบุคคล มีจุดเด่นที่การให้บริการสินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน ให้กับพนักงานบริษัทที่ทำสัญญาใช้บริการกับ KTBST LEND ผ่านแอปพลิเคชัน LEND U ซึ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวกในการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อได้ง่าย ๆ ส่วนประเภทที่สองคือ บริการสินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่บุคคลและนิติบุคคลในอัตราดอกเบี้ยเหมาะสม โดยมีตัวเลือกหลักประกัน ได้แก่ หุ้นจดทะเบียนและโฉนดที่ดิน

กานต์เล่าถึงที่มาของการให้บริการสินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงานว่า เป็นเพราะที่ผ่านมาแม้บริษัทในไทยจำนวนมากจะมีข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์ เรื่องการให้สินเชื่อสวัสดิการดอกเบี้ยอัตราพิเศษแก่พนักงาน แต่เกณฑ์การพิจารณาปล่อยสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับธนาคาร โดยพนักงานจะต้องส่งเอกสารต่าง ๆ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือน ให้กับธนาคารเอง โดยธนาคารจะตรวจเอกสารรวมทั้งเครดิตบูโรเพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งพนักงานมีสิทธิที่จะถูกปฏิเสธสินเชื่อได้ และบ่อยครั้งเมื่อกู้ไม่ได้ พนักงานก็ต้องไปขอสินเชื่อนอกระบบ ซึ่งก่อให้เกิดภาระหนี้สินในอัตราที่สูง

บริการสินเชื่อสวัสดิการ ที่ KTBST LEND นำเสนอนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะหากบริษัทที่สนใจและตกลงทำสัญญาใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการ กับ KTBST LEND แล้ว จะมีการตกลงเงื่อนไขการให้สินเชื่อกับพนักงาน ทั้งการกำหนดคุณสมบัติพนักงานที่มีสิทธิขอสินเชื่อ เช่น ต้องเป็นพนักงานประจำ หรือเป็นพนักงานชั่วคราวที่มีอายุงานไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และบริษัทคู่สัญญาสามารถต่อรองอัตราดอกเบี้ยพิเศษ กับทาง KTBST LEND แทนพนักงานบริษัทได้เลย โดย KTBST LEND จะไม่ได้พิจารณาการอนุมัติวงเงินเป็นรายบุคคล แต่ใช้เงื่อนไขที่ตกลงล่วงหน้าไว้กับบริษัทคู่สัญญา เว็บสล็อตออนไลน์ เช่น อาจตกลงอัตราดอกเบี้ยที่เท่ากันสำหรับพนักงานทั้งบริษัท หรือ มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันตามอายุงานของพนักงาน ก็สามารถทำได้เช่นกัน และในการสมัครสินเชื่อ พนักงานสามารถทำผ่านแอปพลิเคชั่น LEND U ผ่าน สมาร์ทโฟน ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องติดต่อกับบุคคลอื่นเลย ตั้งแต่การยืนยันตัวตนผ่านเบอร์มือถือ การถ่ายรูปบัตรประชาชน การลงลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสมัครสินเชื่อ และทำสัญญาสินเชื่อ รวมถึงการอนุมัติสินเชื่อ ก็ทำผ่านแอปฯ ได้หมด โดยพนักงานไม่ต้องส่งเอกสารใด ๆ ให้กับ KTBST LEND เลย โดยทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทคู่สัญญา จะเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติพนักงาน ให้กับ KTBST LEND และหลังจากได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว พนักงานผู้ขอสินเชื่อ จะได้รับเงิน ผ่านบัญชีเงินเดือน ภายใน 2-3 วันทำการ การชำระค่างวด ก็สะดวก เพราะหักผ่านบัญชีเงินเดือนได้เลย

“เราตั้งใจที่จะเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการหนี้ ให้กับมนุษย์เงินเดือน โดยสามารถเข้าถึงสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อนำไปชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทย เพราะปัญหานี้ส่งผลต่อกำลังใจพนักงาน ทำให้ประสิทธิภาพทำงานลดลง อาจเป็นเรื่องที่นายจ้างมองข้าม แต่จริงๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก

“อีกอย่าง เวลาพูดถึงสวัสดิการ ทุกคนทุกอาชีพควรมีช่องทางเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน หน้าที่ของเราคือประเมินความเสี่ยงที่รับได้ ว่าจะให้วงเงินสินเชื่อเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการตกลงของ KTBST LEND กับแต่ละบริษัท ว่าจะออกแบบยังไง เราอาจไม่ได้ให้วงเงินแต่ละคนเยอะ อยู่ที่ 1-3 เท่าของเงินเดือน ตามเกณฑ์ของสินเชื่อสวัสดิการ และตามเป้าหมายที่ต้องการกระจายให้พนักงานส่วนใหญ่ได้เข้าถึงสินเชื่อสวัสดิการ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของเรา” กานต์กล่าว

เมื่อเน้นที่สินเชื่อสวัสดิการออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ซีอีโอ KTBST LEND จึงอธิบายถึงแอป LEND U เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า เบื้องต้นแอปดังกล่าวได้เปิดให้พนักงานในกลุ่ม KTBST ทดลองขอสินเชื่อ ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับในแง่บวกถึงความสะดวกสบายและรวดเร็ว ต่างจากอดีตที่การทำธุรกรรมด้านสินเชื่อต้องใช้เวลานานและต้องเตรียมเอกสารจำนวนมาก และตอนนี้ พร้อมที่ให้บริการกับบริษัทภายนอกแล้ว

นอกจากนี้ จุดเด่นของแอป LEND U ยังอยู่ที่ มีฟังก์ชั่น การให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้ การคำนวณดอกเบี้ยลดต้นลดดอก รวมถึงความรู้ด้านการออมและการลงทุน ภายในแอปมีทั้งบทความและคลิปวิดีโอที่เข้าใจง่าย ต่อให้ไม่กู้เงินขอสินเชื่อก็สามารถใช้บริการส่วนนี้ได้ พร้อมมีบททดสอบความเข้าใจ ในรูปแบบของ e-Learning และยังมีฟังก์ชั่น บันทึกรายรับรายจ่ายให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล รายรับ รายจ่าย เพื่อเป็นการเสริมสร้างวินัยทางการเงินด้วยอีกทางหนึ่ง

ตั้งเป้า 5 ปี ครองใจกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง

แม้ KTBST LEND จะเป็นน้องใหม่ในธุรกิจให้บริการสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์ แต่จุดแข็งอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งซีอีโอ KTBST LEND เห็นว่า ด้วยบริการสินเชื่อสวัสดิการพนักงาน ผ่านแอปพลิเคชัน LEND U ที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับมนุษย์เงินเดือน โดยนำ Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้ง และหา Solution ที่ง่าย และตอบโจทย์ ทำจบได้ในแอปฯ เดียว จะทำให้บริษัทสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วตามแผนที่วางไว้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

แม่ทัพ KTBST LEND เผยว่า ปี 2565 จะเดินหน้าเข้าหาบริษัทต่างๆ โดยมีเป้าหมายคือหา “พาร์ทเนอร์” มาร่วมงานด้วยอย่างน้อย 5 บริษัท วงเงินสินเชื่อ ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท พร้อมวางเกณฑ์คร่าวๆ คือ ต้องการเข้าถึงบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมระดับกลาง ที่มีพนักงาน 200-300 คน มีผลประกอบการที่ดีต่อเนื่อง และต้องมีระบบเพย์โรลล์ จ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านธนาคาร เนื่องจากการชำระค่างวดจะใช้การตัดเงินผ่านระบบอัตโนมัติ ดังนั้นต้องมีทีมไอทีของบริษัทคอยเชื่อมระบบกับ KTBST LEND และตั้งเป้าขยายฐานลูกค้า เป็น 40-50 บริษัท วงเงินสินเชื่อไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า

“เราไม่จำกัดว่าต้องเป็นลูกค้ามาจากบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เพียงแต่ต้องการเข้าหาบริษัทให้ได้มากที่สุด เพื่อกระจายโอกาสให้ผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุดในช่วง 5 ปีจากนี้” กานต์เผย

ใช้เทคโนโลยีต่อยอดให้พนักงานเรียนรู้ที่จะออมเงิน แม้จะมีหนี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในแต้มต่อสำคัญของธุรกิจยุคนี้คือเทคโนโลยี กานต์ ในฐานะผู้มีประสบการณ์ด้านฟินเทค เห็นว่า คนที่มีหนี้ หากสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ดีแล้ว ก็สามารถ เรียนรู้ที่จะออมเงินได้ โดย KTBST LEND จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งกับองค์กรและลูกค้ามากขึ้น โดยแย้มว่า มีแผนที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ง่าย ๆ เช่น บริการ KTBST Wealth Advice ซึ่งเป็นการลงทุนในกองทุนรวมแบบอัตโนมัติสม่ำเสมอเป็นรายเดือน หรือ Dollar Cost Average – DCA ในรูปแบบ Robo Advisor ที่มีผู้เชี่ยวชาญจัดพอร์ตการลงทุนให้ตามระดับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ของบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST SEC) มาแนะนำให้กับกลุ่มพนักงานของบริษัทคู่สัญญา ที่สนใจสามารถเปิดบัญชีกับทาง KTBST SEC ลองหัดลงทุนได้ด้วยตัวเองผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม โดยไม่มีเงินลงทุนขั้นต่ำ การลงทุนจะตัดเงินจากบัญชีธนาคารอัตโนมัติได้เลย เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ว่า การบริหารจัดการหนี้ที่ดี ก็สามารถมีเงินเหลือที่จะนำไปลงทุนได้

พร้อมปรับตัวเร็วเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTBST LEND ยังย้ำด้วยว่า มั่นใจว่าประสบการณ์ที่ผ่านมา พร้อมวางระบบทุกอย่างของ KTBST LEND ให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระเบียบ อาจมีความท้าทายตรงที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องมือใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ก็พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง แล้วนำมาปรับใช้ต่อไป

“เทคโนโลยี และสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆเป็นสิ่งที่ผมติดตามอยู่แล้ว แต่สุดท้ายแล้วเราจะรู้เองว่าควรเอาอะไรเข้ามา และจะนำมาปรับใช้กับแอปอย่างไร แต่เราต้องเป็นรายแรกที่ขยับตัวแน่นอน เพราะเรื่องเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญอย่างมาก” กานต์ยืนยัน

เตรียมพร้อมลงสนามแข่งขัน

เมื่อถามถึงผู้เล่นหน้าใหม่ในท้องตลาด โดยเฉพาะผู้ให้บริการสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์อัตราดอกเบี้ยต่ำ กานต์ตอบว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินเชื่อหรือธุรกิจใดที่เดินหน้าเข้าสู่โลกออนไลน์ KTBST LEND ก็พร้อมเปิดรับเสมอ แม้ปัจจุบันคู่แข่งด้านสินเชื่อสวัสดิการออนไลน์อัตราดอกเบี้ยต่ำอาจไม่เยอะ เนื่องจากธุรกิจนี้อาจไม่ได้ทำกำไรมาก เราเน้นการช่วยบริหารจัดการหนี้ให้พนักงานบริษัทมากกว่า แต่ก็ถือเป็นเรื่องดีหากจะมีผู้เล่นมาเพิ่มเติม เพราะนี่คือประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสให้คนจำนวนมากได้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคมไทยในระยะยาว

“การปรับตัวเข้าสู่โลกเทคโนโลยีก่อนย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะสุดท้ายเทคโนโลยีจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน เห็นได้จากโควิด-19 ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน และเร่งให้โลกการเงินเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น ทิศทางของหลายบริษัทก่อนมีโควิด ไม่เคยเวิร์กฟรอมโฮม ไม่เคยประชุมออนไลน์ ไม่เคยใช้ระบบ อี-เวิร์กโฟลว์ แต่ตอนนี้ทุกที่ใช้หมด และจะกลายเป็นวิถีปฏิบัติในการทำงาน ดังนั้นต้องผ่านการปลดล็อกความเคยชินแบบเดิมๆ จึงจะพบความสะดวกสบายแบบใหม่

“เหมือนสมัยก่อนเราอ่านหนังสือพิมพ์กระดาษทุกวัน วันดีคืนดีเปิดอินเทอร์เน็ตถึงพบว่าอยากอ่านข่าวอะไรก็อ่านได้เลย แต่ความยากในขั้นแรกคือจะเปิดคอมพิวเตอร์อย่างไร เปิดเว็บไซต์ตรงไหน ถ้าปลดล็อกจุดนี้ได้จะพบความสะดวกสบาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ด้วยว่าจะพยายามปลดล็อกนั้นได้ไหม เราหวังว่าจะทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกรรมการเงินโดยเฉพาะเรื่องสินเชื่อสวัสดิการได้สะดวกขึ้น” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTBST LEND ทิ้งท้าย